เอกสารรวบรวม
แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
กศน.ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ
สำนักงาน กศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา
สำนักงาน กศน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
คำนำ
เอกสารเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ที่เป็นเครือข่ายของ ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของ คณะกรรมการ กศน.ตำบล เพื่อให้ประชาชน ผู้ที่สนใจ สถานศึกษา องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกสถานที่สำหรับศึกษาดูงาน ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ ได้มีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ในเอกสารประกอบด้วย ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ทางด้านการเกษตร การปศุสัตว์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ โดยได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทุกแห่งของตำบลคลองตะเกราอำเภอท่าตะเกียบจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ผู้ดำเนินการ หรือเจ้าของยินดีถ่ายทอดความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจ ขอเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษาดูงานด้วยความเต็มใจ
ทางคณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับจัดทำเอกสารฉบับนี้เป็นอย่างสูง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อไป
ผู้จัดทำ
กศน.อำเภอท่าตะเกียบ
13 มีนาคม 2560
สารบัญ
หน้า
คำนำ 1
สารบัญ 2
พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง 4
แผนที่ตำบลคลองตะเกรา 6
ตอนที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาตำบลคลองตะเกรา 7
ตอนที่ 2 แหล่งเรียนรู้
ด้านสิ่งแวดล้อม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน 8
- วัดเขาถ้ำแรต 9
- วัดป่าเขาล้อม 10
- น้ำตกอ่างฤาไน 12
ด้านอาชีพ
- กลุ่มพรมเช็ดเท้าบ้านห้วยตะปอก 15
- กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ(พนมดงรักษ์) 17
- ไรแสงเดือนสิริกุล 19
ตอนที่ 3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านการตีเหล็ก
- นายวิเชียน ไขโพธิ์ 20
ด้านอาชีพ การทำไม้กวาดดอกหญ้า
- นางหวัง พังทุย 21
ด้านการเกษตร การทำมะม่วงฤดู
- นายสุชิน แสงเดือนสิริกุล 22
ด้านอาชีพ การทอเสื่อกก
- นางพุทรทา บุตรนิล 23
ด้านศิลปวัฒนธรรม การทำลวดลายบั้งไฟ
- ชื่อ สกุล นายกวี มูลวงษ์ 25
ตอนที่ 4 ข้อมูลติดต่อ 26
พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง
“สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน สมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีความพอเพียงได้ ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ
เศรษฐกิจพอเพียง...จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้
แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน
ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

|
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม
ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม
แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากวารสารชัยพัฒนาประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒

แผนที่ตำบลคลองตะเกรา
กศน.ตำบลท่าคลองตะเกรา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดฉะเชิงเทราห่างจากที่ตั้งของตัวจังหวัด ระยะทางประมาณ 107 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนินสลับภูเขา มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติ แควระบม - สียัด ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมหลายจังหวัด และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลพวา และตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมวจังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลวังทอง กิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัด
ฉะเชิงเทรา และตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ตอนที่ 1
บทนำ
ความเป็นมา
ตำบลคลองตะเกรา มีตำนานกล่าวถึง คลองตะเกรา ว่า คำว่า “คลองตะเกรา” มาจาก “ตะเกรา” คือชื่อไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดตามริมคลอง และคลองในพื้นที่มีอยู่หลายสายด้วยกัน มีต้นกำเนิดมาจากน้ำตกอ่างฤาไนบนเขาตะกรุบ โดยริมคลองจะมีนคันเกราขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองคันเกรา” และเพี้ยนมาเป็น “คลองตะเกรา” จนถึงปัจจุบั ตำบลคลองตะเกราได้แยกมาจากตำบลท่าตะเกียบ เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับอำเภอสนามชัยเขต มีจำนวน 6 หมู่บ้านประกอบไปด้วย หมู่ที่ 1 บ้านกรอกสะแก หมู่ที่ 2 บ้านหนองคอก หมู่ที่ 3 บ้านเกาะลอย หมู่ที่ 4 บ้านวังหิน หมู่ที่ 5 บ้านหนองขาหยั่ง หมู่ที่ 6 บ้านธรรมรัตน์ในต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตำบลท่าตะเกียบจึงได้แยกออกจากอำเภอสนามชัยเขตเป็นกิ่งอำเภอท่าตะเกียบ เมื่อปี พ.ศ. 2533 และแยกเป็นตำบลคลองตะเกราซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 25 หมู่บ้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเรา ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลายๆเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชน และในตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบค้นหาและนำมาใช้ก็จะเป็นที่รู้จักกัน เกิดการยอมรับ ถ่ายทอดและพัฒนาไปสู่คนรุ่นใหม่ตามยุคสมัยได้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ทิศทางการพัฒนาประเทศกำลังแพร่หลายในสังคมไทย หรือเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ผลจากการปะทะกันของความคิดสองกระแสดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้สังคมไทยมีโอกาสทบทวนแนวคิดและทิศทางการพัฒนาในอดีต แสวงหาทางเลือกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมของเรา
ตอนที่ 2
แหล่งเรียนรู้
กศน.ตำบลคลองตะเกรา มีแหล่งเรียนรู้ จำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง ประกอบด้วย
ด้านแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ จำนวนทั้งสิ้น 4 แห่ง ประกอบด้วย
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
2. วัดเขาถ้ำแรต
3. วัดป่าเขาล้อม
4. น้ำตกอ่างฤาไน
ด้านแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง ประกอบด้วย
1. พรมเช็ดเท้าบ้านห้วยตะปอก
2. กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ(พนมดงรักษ์)
3. ไรแสงเดือนสิริกุล
1.แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
- ชื่อสกุลเจ้าของ/ผู้ดูแล แหล่งเรียนรู้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
- ชื่อสกุล ครู กศน.ตำบลที่รับผิดชอบ นายสงวน มูลวงค์
- ที่อยู่ ม.8 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เบอร์โทรศัพท์0 3850 2001
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ 643,750 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางของพื้นที่ป่าผืนใหญ่รอยต่อ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และปราจีนบุรี เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของภาคตะวันออก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกงทางด้านจังหวัดฉะเชิงเทรา คลองโตนดจังหวัดจันทบุรีและแม่น้ำประแสร์ในจังหวัดระยอง สภาพภูมิประเทศทั่วไปมีความลาดชันไม่มากนัก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 30-150 เมตร ยอดเขาสูงสุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตรักษาพันธุ์ฯ คือ เขาสิบห้าชั้น มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 802 เมตรพื้นที่ป่าปกคลุมเป็นบริเวณกว้างใหญ่ มีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้าง กระทิง กวาง เก้ง วัวแดง ชะนีมงกุฎ เม่น และนกพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกกก นกแต้วแล้วธรรมดา นกเขาใหญ่ เหยี่ยวขาว เป็นต้น และในพื้นที่สำนักงานเขตรักษาพันธุ์ฯยังเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยสัตว์ป่า แห่งแรกของภาคตะวันออกและเป็นแหล่งที่สองของประเทศไทย รองจากสถานีวิจัยสัตว์ป่านางรำที่ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี บริเวณหุบเขาร่มรื่นและเย็น ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม สามารถชมผีเสื้อได้ เช่น ผีเสื้อสะพายฟ้า ผีเสื้อหางกระดิ่งแววมยุรา ผีเสื้อเจ้าป่า เป็นต้น นอกจากนั้นยังมี น้ำตกอ่างฤาไน หรือ น้ำตกบ่อทอง อยู่ที่หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทอง เกิดจากคลองหมากบนเขาอ่างฤาไน เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปี แต่ควรไปในช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาวน้ำจะค่อนข้างเยอะ ห่างจากที่ทำการเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนประมาณ 40 กิโลเมตร มีทางเข้าจากบริเวณบ้านหนองคอก เส้นทางต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ รถยนต์ธรรมดาไม่สามารถขึ้นได้ ตัวน้ำตกอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทองประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ศึกษา ธรรมชาติอย่างแท้จริง และ น้ำตกเขาตะกรุบ ขึ้นอยู่กับหน่วยพิทักษ์ป่าเขาตะกรุบ เลยจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนประมาณ 30 กิโลเมตร การเดินทางไปน้ำตกค่อนข้างสูงชันต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อัตราค่าเข้าเขตรักษาพันธุ์ฯ ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาทสถานที่พัก มีบริการบ้านพักและสามารถกางเต็นท์ได้ (ต้องนำมาเอง) เสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ขนาดไม่เกิน 4 คน ราคา 50 บาท/คืน และเกิน 4 คน ราคา 100 บาท/คืน การเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควรปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่าง เคร่งครัด ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะต้องทำจดหมายขออนุญาตล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน เรียน ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำรถยนต์เข้าเขตรักษาพันธุ์ฯ รถจักรยาน 10 บาท รถจักรยานยนต์ 20 บาท รถยนต์ 60 บาท รถ 6 ล้อ 100 บาท รถ 10 ล้อ 200 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02561 4292 ต่อ 658, 659 หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน โทร. 0 3850 2001
การเดินทาง จากกรุงเทพฯใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงรถยนต์ จากตัวเมืองฉะเชิงเทราใช้เส้นทางสายฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม จากอำเภอพนมสารคามไปตามทางหลวงหมายเลข 3245 (พนมสารคาม-สนามชัยเขต) จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 3259 ผ่านอำเภอท่าตะเกียบสู่บ้านหนองคอก ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วไปตามเส้นทางบ้านหนองคอก-กิ่งอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว อีกประมาณ 20 กิโลเมตร จะถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนและสถานีวิจัยสัตว์ป่า ฉะเชิงเทราซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันรถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-พนมสารคาม แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสายฉะเชิงเทรา-คลองหาด ลงหน้าสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
หมายเหตุ : ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีบริการรถส่องสัตว์ นั่งได้ 60 คน ใช้เวลา 30-40 นาที ที่บริเวณถนน 3259 มีการปิดถนนเพื่อให้สัตว์ป่าเดินหาอาหาร ระหว่างเวลา 21.00-05.00 น. สัตว์ที่พบเห็นได้แก่ ช้าง กระต่าย เก้ง เม่น เป็นต้น สถานที่ตั้ง: ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ ฉะเชิงเทรา
แผนที่ แสดงที่ตั้ง : [gmap markers=letters::13.413131372027566,101.67290496407077 |zoom=9 |center=13.43236657581376,101.6180419921875 |width=400px |height=450px |control=Micro |type=Map]
ประเภทข้อมูล: ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวข้อมูลจังหวัด: ฉะเชิงเทรา
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว: เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าลักษณะเด่นของแหล่งท่องเที่ยว: ธรรมชาติ
 
2.ด้านแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
- ชื่อสกุลเจ้าของ/ผู้ดูแล แหล่งเรียนรู้ วัดเขาถ้ำแรต
- ชื่อสกุล ครู กศน.ตำบลที่รับผิดชอบ นายสงวน มูลวงค์
- ที่อยู่ ม.9 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เบอร์โทรศัพท์0 3850 2001
หินงอกหินย้อย คือปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งที่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายๆ พันหรือหมื่นปี ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักเกิดขึ้นในถ้ำหินปูน เพราะมีความชื้นอันเป็นปัจจัยของการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ประเภทนี้ ลักษณะของหินงอกหินย้อยนั้น เป็นหินที่ยื่นหรือหยดเข้าหากันคล้ายกับเป็นของเหลว โดยมากเราเรียกหินที่หยดลงมาจากด้านบนว่าหินย้อย และเรียกหินที่ยื่นขึ้นไปจากทางด้านล่างว่าหินงอก ซึ่งกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดสภาพนี้นั้นวัดเขาถ้ำแรดเป็นวันที่ศึกษาการเกิดหินงอกหินย้อยจากธรรมชาติ
ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : เขาถ้ำแรด
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว : ธรรมชาติและสัตว์ป่า
สถานที่ตั้ง : บ้านห้วยตะปอก หมู่ที่ 9 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
หมายเลขติดต่อสอบถาม : 038508153-4
latitude : 13.39
longitude : 101.74
รายละเอียด : เป็นสถานที่เยี่ยมชมธรรมชาติ ดูค้างคาวและลิง
การเดินทาง : มาได้ 2 เส้นทาง คื่อ 1. ออกจากตัวเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรามุ่งหน้าสู่อำเภอพนมสารคามประมาณ 30 กม.แล้วเลี้ยวซ้ายไปอำเภอสนามชัยประมาณ 10 กม.และตรงไปอำเภอท่าตะเกียบแล้วมุ่งหน้าสู่วัดเขาถ้าแรดอีกประมาณ46 กม. 2. เดินทางจากจังหวัดสระแก้วมุ่งหน้าสู่สี่แยกทุ่งกบินทร์เข้าบ้านซับวัวแดงแล้วเดินทางต่อไปจังหวัดฉะเชิงเทราตามป้ายบ้านหนองคอกอีกประมาณ 35 กม.
รูปภาพประกอบ
 
3.ด้านแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
- ชื่อสกุลเจ้าของ/ผู้ดูแล แหล่งเรียนรู้ วัดป่าเขาล้อม
- ชื่อสกุล ครู กศน.ตำบลที่รับผิดชอบ นายสงวน มูลวงค์
- ที่อยู่ ม.20 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เบอร์โทรศัพท์0 3850 2001
ความเป็นมา วัดป่าเขาล้อม เป็นวัดสาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยนา ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา การเดินทางจากเขื่อนสียัด จะมีป้ายวัดบอกทางตลอดเส้นทาง ผ่านหมู่บ้านนาดี และบ้านทุ่งส่าย สังเกตุจะมีป้ายบอกทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือ วัดตั้งอยู่บนเนินเขาล้อมรอบด้วยทิวเขาและป่าไม้น้อยใหญ่และป่าเบญจพรรณ ร่มรื่นประทับใจแก่ผู้มาเยือน เป็นสถานที่สัปปายะแก่การปฏิบัติธรรม

พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก่อนที่จะเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ต่อไปขอเกริ่นนำก่อนครับว่า ภาพพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ตะเคียนที่เราจะได้เสนอต่อจากนี้ไปถ่ายภาพมาจากด้านหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม จึงได้นำมาประชาสัมพันธ์บอกต่อกัน เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาหลายปี ทางวัดได้อัญเชิญพระพุทธรูปหลายองค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล กำหนดการประดิษฐานพระพุทธรูปว่าจะไปอยู่ ณ ที่ใดในช่วงไหนให้ติดตามข่าวสารจากทางวัดป่าเขาล้อมได้โดยตรงที่ http://www.watpakhaolom.com/ สำหรับการประดิษฐานพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ตะเคียนเก่าแก่เหล่านี้จะประดิษฐาน ณ องค์พระปฐมเจดีย์จนถึง 25 กันยายน 2554
ที่มาของการแกะสลักพระพุทธรูปจากไม้ตะเคียนไม้ตะเคียนทองที่ขุดพบจมอยู่ใต้ดินลึกกว่า 5 เมตร ขณะสร้างเขื่อนสียัด อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้พบว่าไม้จำนวนหนึ่งได้กลายเป็นหินไปแล้ว จึงสันนิษฐานได้ว่าไม้ตะเคียนเหล่านี้มีอายุนับเป็นพันปี ชาวบ้านและผู้ขุดพบจึงนำมาถวาพระครูปลัดชาญ ธัมมชโย เล็งเห็นคุณค่าของไม้เก่าแก่เหล่านี้ และเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา จึงดำริให้สร้างเป็นพระพุทธรูปปางต่างๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา ได้แก่ พระพุทธรูปปางประจำวัน พระพุทธรูปปางประสูติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปางตรัสรู้ ซึ่งมีหน้าตักกว้างถึง 109 นิ้ว ปางเสด็จดับขันธปรินิพพานมีความยาวถึง 10 เมตร นับว่าเป็นพระพุทธรูปแกะสลักที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของไทย แต่ละองค์ได้รับการแกะสลักจากช่างฝีมือด้วยความวิจิตรบรรจง ทำให้องค์หลวงพ่อสวยงามเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นเสมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ จึงเป็นมงคลยิ่งแก่ผู้ที่ได้มาสักกระบูชา

ส่วนพระพักตร์ของพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ด้วยฝีมือปราณีตบรรจง พระพักตร์ขององค์พระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้ตะเคียนเก่าแก่เหล่านี้มีความงดงามเต็มไปด้วยความเมตตาที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน พระขนง (คิ้ว) โก่งโค้ง พระนาสิกคมโด่ง พระ
4.ด้านแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติน้ำตกอ่างฤาไน
- ชื่อสกุลเจ้าของ/ผู้ดูแล แหล่งเรียนรู้
- ชื่อสกุล ครู กศน.ตำบลที่รับผิดชอบ นายสงวน มูลวงค์
- ที่อยู่ ม.3 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เบอร์โทรศัพท์ 0 3850 2001 หรือ ผู้ช่วยเขตรักษาพันธุ์ฯ คุณ เบ็งจะ ตรีสาร โทร. 08 1899 9826
อำเภอท่าตะเกียบ เป็นอำเภอที่อยู่ด้านตะวันออกสุดแดนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีอ่างเก็บน้ำ และธรรมชาติสวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ จนเกินไป สามารถท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แบบ 2 วัน 1 คืน
การเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยรถยนต์ใช้เส้นทาง 304 (กรุงเทพฯ-มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา) ระยะทาง 75 กิโลเมตร จากนั้นใช้เส้นทางที่ผ่านอำเภอแปลงยาว ไปอำเภอสนามชัยเขต ต่อด้วยทางหลวง 3259 ไปอำเภอท่าตะเกียบ ระยะทางประมาณอีกประมาณ 80 กิโลเมตร

น้ำตก บ่อทอง หรือที่เรียกกันว่า น้ำตกอ่างฤาไน เป็นน้ำตกค่อนข้างสูงชัน มีน้ำตลอดปี แต่หากไปฤดูปลายฝนต้นหนาว น้ำจะค่อนข้างมากเป็นพิเศษ การเข้าถึงน้ำตกบ่อทองเป็นทางลูกรัง นอกจากการขี่จักรยานแล้ว ยังสามารถเข้าถึงโดยใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ รถยนต์ธรรมดาไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากต้องขับลุยผ่านแอ่งน้ำ 3-4 แห่ง จบการท่องเที่ยวในวันแรก ด้วยการพักค้างคืนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอ่างฤาไน ซึ่งอยู่ห่างออกไปตามเส้นทางไปอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้วตามเส้นทาง 3259 อีกประมาณ 20 กิโลเมตร
ทั้งนี้ การพักค้างแรมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าต้องขอทำหนังสือขออนุญาตล่วงหน้า 15 วันกับกรมป่าไม้และได้รับการตอบอนุญาตก่อน
กิจกรรมก่อสร้างฝายและโป่งเทียมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่กว่าหกแสนไร่ บนรอยต่อ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และปราจีนบุรี เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของภาคตะวันออก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกงทางด้านจังหวัดฉะเชิงเทรา คลองโตนดจังหวัดจันทบุรีและแม่น้ำประแสร์ในจังหวัดระยอง มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่จำนวนมาก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เปิดโอกาสให้หมู่คณะหรือกลุ่มเยาวชนที่สนใจร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ด้วย การทำโป่งเทียม และสร้างฝายอนุรักษ์ต้นน้ำธรรมชาติในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
โป่ง คือ เกลือแร่อย่างหนึ่งที่จำเป็นสำหรับสัตว์ที่กินพืช เช่น ช้าง ซึ่งปกติต้องหากินโป่งหลาย ๆ ที่เพื่อให้ได้เกลือแร่ครบ แต่การทำโป่งเทียมในเส้นทางที่สัตว์หากิน เราจะนำเกลือไปผสมให้เข้ากันกับดินให้เหมาะสม โดยการขุดดินเป็นหลุมกว้างและลึกพอเหมาะ แล้วนำเกลือแร่ผสม กลบดิน แล้วใช้น้ำรดหรืออาจมีฝนตก ก็จะช่วยให้กลิ่นลอยไปโดยธรรมชาติสัตว์จะได้กลิ่น โป่งเทียมจะมีเกลือแร่ครบทุกตัว
สำหรับการสร้างฝาย เราจะเลือกสร้างฝายเพื่อกั้นหรือขวางการไหลของน้ำให้ชะลอลง เพื่อเป็นการช่วยรักษาหน้าดินและการกัดเซาะทำลายดิน โดยใช้ไม้ตีกั้นในเส้นทางน้ำไหล และนำเศษไม้ หิน วัสดุต่างๆ มารวมกัน และตีกั้น ทำให้ลดแรงปะทะของสายน้ำได้
กิจกรรมส่องสัตว์กลางคืน กิจกรรมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่มาพักแรมในพื้นที่เขตฯ คือการส่องสัตว์กลางคืน ทางเขตฯ มีบริการรถส่องสัตว์จุได้ 60 คน ใช้เวลา 30-40 นาที โดยบริเวณเส้นทางเข้าออกอุทยาน ทางหลวง 3259 จะปิดถนนเพื่อให้สัตว์ป่า เดินหาอาหาร ระหว่างเวลา 21.00-05.00น. มีสัตว์ที่พบ อาทิเช่น ช้าง กระต่าย เก้ง เม่น ฯลฯ
การติดต่อทำกิจกรรม ผู้สนใจกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สร้างฝายทำโป่ง และกิจกรรมส่องสัตว์กลางคืน สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
โทร. 0 3850 2001 หรือ ผู้ช่วยเขตรักษาพันธุ์ฯ คุณ เบ็งจะ ตรีสาร โทร. 08 1899 9826
 
ค่าเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท (นักเรียนนักศึกษาลดครึ่งราคา) (แต่งเครื่องแบบหรือแสดงบัตร)
ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
ค่านำยานพาหนะเข้าเขตรักษาพันธุ์ฯ จักรยาน 10 บาท จักรยานยนต์ 20 บาท รถยนต์ 60 บาท รถ 6 ล้อ 100 บาท รถ 10 ล้อ 200 บาท
ที่พัก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน มีบริการที่พัก ทั้งหมด 3 หลัง พักได้หลังละ 4 - 6 คน นอกจากนี้ยังมีจุดกางเต๊นท์บริเวณรอบๆ ซึ่งต้องนำเต๊นท์มาเอง ค่าธรรมเนียงกางเต็นท์กรณีนำเต๊นไปเอง เต๊นท์ขนาด 4 คน เต๊นท์ละ 50 บาทต่อคืน ขนาดเกิน 4 คนเต๊นท์ละ 100 บาทต่อคืน
บริเวณกางเต๊นท์สวยงามมาก ใกล้อ่างเก็บน้ำ บรรยากาศโอบล้อมด้วยธรรมชาติ ต้นไม้ ยามเช้าบรรยากาศสวยงามเหมือนปางอุ๋ง สงบเงียบ ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน และมีนกมายมายนานาชนิดนอกจากนั้นยังมีบ้านพักต้นน้ำ ที่หน่วยจัดการต้นน้ำภูไท จำนวน 2 หลัง พักได้หลังละ 15 -20 คน และ มีอาคารเอนกประสงค์ สำหรับทำกิจกรรม อยู่ห่างจากสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร
ติดต่อใช้บริการที่พักและเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนได้ที่ สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กรุงเทพฯ คุณชัยรัตน์ โทร. 0 2561-4837
ตัวอย่างกำหนดการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ และท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
แบบ 2 วัน 1 คืน
วันแรก
07.00 น. นัดหมายสมาชิกร่วมเดินทาง
09.00 น. เดินทางถึงอำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
10.00 น. ปั่นจักรยานจากอำเภอท่าตะเกียบไปอ่างเก็บน้ำคลองสียัด ระยะทาง 8 กิโลเมตร
แวะสักการะศาลเจ้าพ่อเขากา
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันริมอ่างเก็บน้ำ
13.00 น. เดินทางถึงสำนักงานป่าไม้หลุมจังหวัด ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
ปั่นจักรยานชมน้ำตกบ่อทอง ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร
15.00 น. เตรียมเก็บสัมภาระเดินทางไปพักแรม ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
16.30 น. เดินทางถึงสถานที่พักแรม
21.00 น. นั่งรถส่องสัตว์กลางคืน นำโดยเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
22.00 น. กลับเข้าที่พัก
วันที่สอง
06.00 - 07.00 น. กิจกรรมดูนกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
08.00 น. รับประทานอาหารเช้า
ปั่นจักรยานภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามอัธยาศัย
10.00 น. เดินทางไปร่วมกิจกรรมก่อสร้างฝาย / โป่งเทียม ณ จุดกำหนด
12.00 น. เสร็จกิจกรรม และรับประทานอาหารกลางวัน
16.00 น. เดินทางถึงกรุงเทพฯโดยสวัสดิภาพ
5.ด้านแหล่งเรียนรู้ด้านกลุ่มอาชีพ
กลุ่มอาชีพ พรมเช็ดเท้าบ้านห้วยตะปอก
ชื่อสกุลเจ้าของ/ผู้ดูแล แหล่งเรียนรู้ คุณอัมพร กานต์วิศิษฎ์
- ชื่อสกุล ครู กศน.ตำบลที่รับผิดชอบ นายสงวน มูลวงค์
- ที่อยู่ พรมเช็ดเท้าบ้านห้วยตะปอก เลขที่ 553 หมู่9 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา 24160
เบอร์โทรศัพท์ 0-9071-789
- ประวัติแหล่งเรียนรู้ ประวัติความเป็นมา...กลุ่มของเราเป็นกลุ่มของชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยตะปอก หมู่ที่ 9 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและชุมชน มีอาชีพ มีงานทำอย่างต่อเนื่อง สมาชิกเริ่มแรกมีเพียง 18 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 29 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 24 คน เริ่มแรกนั้นทำพรมเช็ดเท้าด้วยวิธีการทอ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 เปลี่ยนมาเป็นใช้วิธีการเย็บ เพื่อความแข็งแรง ทนทาน และสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ และออกแบบเป็นลวดลายต่างๆ ที่ไม่เหมือนใคร ปัจจุบันกลุ่มได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้ว และกำลังมองหาช่องทางตลาดใหม่ๆ เพื่อขยายฐานการผลิตออกไปอีก รวมทั้งตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตพรมเช็ดเท้าให้กับสมาชิกในชุมชนและในหมู่บ้านอื่นๆ ที่สนใจ
- การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ (รองรับได้กี่คน พักค้างได้หรือไม่)
- ค่าใช้จ่าย (ถ้ามี)
- การเดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้ /แผนที่
- องค์ความรู้
จาก การสำรวจในปัจจุบันพบว่าในชุมชนมีเศษผ้าที่เหลือจากการทำสิ้นค้า เช่น กางเกง เสื้อ ในหมู่บ้านเยอะแยะมากมาย จึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องการทำพรมเช็ดเท้าใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการผลิตพรมเช็ดเท้า ที่สวยงามต่อมา ได้มีโอกาสไปดูงานกลุ่มทอพรมเช็ดเท้า ประกอบกับได้ดูทาง ทีวีในเรื่องของการทอพรมเช็ดเท้า จึงได้คิดริเริ่มถักพรมเช็ดเท้า ปัจจุบันมีการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของสำหรับใช้ สอยในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้าของใช้ที่ทุกๆครัวเรือนจะต้องมี ทุกวันนี้พรมเช็ดเท้ามีลวดลายและรูปแบบต่างๆมากมายให้เราเลือกใช้ แถมวิธีทำก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดอีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพอิสระได้อีกด้วย สำหรับผู้ที่กำลังมองหาลู่ทาง ประกอบอาชีพอิสระที่สามารถทำอยู่ที่บ้านได้ และมีเวลาดูแลบ้าน ดูแลครอบครัว การถักพรมเช็ดเท้าขายนับว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ลงทุนน้อยทำง่าย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ อีกต่างหาก การถักพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า เป็นการนำสิ่งของเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่า ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เป็นการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทำให้มีรายได้เสริมนอกเหนือจากอาชีพหลัก ซึ่งในแต่ละบ้านต้องมีพรมเช็ดเท้าไว้ใช้ในครัวเรือนอยู่แล้ว
- หลักสูตร/กิจกรรม
หลักสูตรหลักสูตร การถักพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า จำนวน 40 ชั่วโมง กลุ่มวิชาอาชีพ อุตสาหกรรม ระยะเวลาในการอบรม ใช้หลักสูตร 40 ชั้วโมง
กระบวนการ/ขั้นตอนการผลิต...กลุ่มของเรามีขั้นตอนการผลิต ดังนี้...
1. ซื้อวัสดุ คือ เศษผ้า ด้ายจากโรงงานในกรุงเทพมหานคร
2. ซื้อแผ่นยางจากภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียง
3. ตัดเศษผ้าให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้าง 1 นิ้ว ยาว 2.5 นิ้ว
4. ตัดแผ่นยางให้เป็นรูปแบบต่างๆ ต้องความต้องการ เช่น รูปสี่เหลี่ยม วงกลม แตงโม รูปการ์ตูน เป็นต้น
5. นำปากกาเมจิกมาขีดเส้นบนแผ่นยางที่ตัดไว้เป็นแถวๆ ระยะห่าง 1 ซ.ม.
6. นำเศษผ้าที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วมาวางบนเส้นที่ขีดไว้แล้วทำการเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
- หน่วยงานเครือข่าย
1. อำเภอท่าตะเกียบ
2. พัฒนาอำเภอท่าตะเกียบ
3. อบต.ตำบลคลองตะเกรา
4. กศน.อำเภอท่าตะเกียบ
- รางวัล/เกียรติประวัติที่เคยได้รับ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์และรางวัลที่ได้รับ…กลุ่มของเราได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์และรางวัลต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้า ดังนี้
1. ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
2. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับสามดาว ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก จากโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2555 (OTOP Product Champion)
3. ได้รับรางวัลที่ 3 จากการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น จังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2557 ของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา
4. ได้รับประกาศเกียรติบัตรด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จากกระทรวงพาณิชย์
- การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในแหล่งเรียนรู้
1. ที่ทำการกลุ่มพรมเช็ดเท้าบ้านห้วยตะปอก เลขที่ 553 หมู่ที่ 9 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160 เปิดจำหน่ายเป็นประจำทุกวัน ทั้งขายปลีกและขายส่ง
2. สถานที่จัดงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของอำเภอและจังหวัด รวมทั้งงาน OTOP ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี เปิดจำหน่ายตามโอกาสที่มีการจัดงาน
3. วัดสมานรัตนาราม เปิดจำหน่ายทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด
4. ห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาพนมสารคาม เดือนละ 3,000 ชิ้น เปิดจำหน่ายทุกวัน
- รูปภาพประกอบ

6.ด้านแหล่งเรียนรู้ด้านกลุ่มอาชีพ
ซื่อกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ(พนมดงรักษ์)
ชื่อสกุลเจ้าของ/ผู้ดูแล แหล่งเรียนรู้ นางรุ่งอรุณ โถทอง
- ชื่อสกุล ครู กศน.ตำบลที่รับผิดชอบ นายสงวน มูลวงค์
- ที่อยู่ 564/1 หมู่ที่ 12 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160
เบอร์โทรศัพท์ 084-8817806
- ประวัติแหล่งเรียนรู้ กลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยนางรุ่งอรุณ โถทองเป็นประธานกลุ่มร่วมกับเพื่อนบ้าน และชุมชนโดยรอบ ซึ่งประธานกลุ่มเคยเป็นลูกจ้างเก็บซากพืชให้กรมป่าทำวิจัยเป็นเวลาประมาณ 2 ปี 8 เดือน จากการสังเกตลักษณะของวัสดุที่เก็บส่งวิจัย จึงริเริ่มนำมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์จาก วัสดุธรรมชาติ เพราะเล็งเห็นคุณค่าของวัสดุธรรมชาติเหล่านั้น จึงนำมาใช้ประโยชน์เป็นสิ่งประดิษฐ์พวกดอกกล้วยไม้ติดบนตอไม้ขนาดต่างๆ เพื่อประดับและตกแต่งบ้านเรือน เพิ่มความสวยงาม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าแก่วัสดุเหลือทิ้งจากธรรมชาติ สร้างงานและรายได้ให้แก่ชาวบ้าน สนับสนุนการประกอบอาชีพในชุมชน เสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็งการจัดตั้งกลุ่มเกิดจากการชักชวนกันของชาวบ้าน เพื่อรวมกลุ่มในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ด้วยการลองผิดลองถูกของสมาชิกกลุ่ม และแสวงหาความรู้จากการอบรมร่วมด้วย ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในกลุ่มที่ผ่านอุปสรรคต่างๆ ด้วยกัน เอื้ออาทรในยามที่สมาชิกมีปัญหา และบ่อยครั้งมีการเผยแพร่องค์ความรู้ในการประดิษฐ์สู่เยาวชนที่เป็น ลูกหลานของคนในชุมชน
- การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ รองรับการอบรมได้ 20 คน
- ค่าใช้จ่าย มีคาใช้จ่ายค่าวัสดุในการฝึกอบรม
- การเดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้ /แผนที่
- องค์ความรู้ คือการนำวัสดุจากธรรมชาติทั้งหมดสามารถประกอบเป็นชิ้นงานเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ทั้งหมดขึ้นอยู่กับจินตนาการ และประสบการณ์ของผู้เก็บวัสดุธรรมชาติเหล่านั้น ตลอดจนผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ และการประกอบชิ้นงาน
- หลักสูตร/กิจกรรม
ใช้หลักสูตรการอบรม การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากธรรมชาติ หลักสูตร 40 ชั้วโมง
ขั้นตอนกระบวนการ วัสดุอุปกรณ์ วิธีการทำ
1. นำเมล็ดหมากนวลสดมาเซาะเปลือกออก ตากให้แห้งสนิท
2. เจาะเมล็ดหมากนวลด้วยสว่าน พร้อมกับใส่เกสรเข้าไปด้านใน เลือกสีได้ตามต้องการ
3. นำมาติดลวดจัดเป็นช่อแล้วพันด้วยเทปสีเขียว
4. การเตรียมตอไม้ ตัดให้สวยงาม ล้างทำความสะอาด และทาด้วยแลคเกอร์
5. นำช่อดอกหมากพร้อมใบสำเร็จรูปมาประกอบลงบนตอไม้ด้วยกาว
- หน่วยงานเครือข่าย
1. อำเภอท่าตะเกียบ
2. พัฒนาอำเภอท่าตะเกียบ
3. อบต.ตำบลคลองตะเกรา
4. กศน.อำเภอท่าตะเกียบ
- รางวัล/เกียรติประวัติที่เคยได้รับ

- การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในแหล่งเรียนรู้
1. กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ บ้านเลขที่ 564/1หมู่ที่ 12 ตำบลคลองตะเกรา
อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160
2. งานแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอท่าตะเกียบ และจังหวัดฉะเชิงเทรา
3. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ว่าการอำเภอท่าตะเกียบ หมู่ที่ 4
ตำบลท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160
- รูปภาพประกอบ
 
7.ด้านแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร
ซื่อแหล่งเรียนรู้ไรแสงเดือนสิริกุล
ชื่อสกุลเจ้าของ/ผู้ดูแล แหล่งเรียนรู้ นายสุชิน แสงเดือนสิริกุล
- ชื่อสกุล ครู กศน.ตำบลที่รับผิดชอบ นายสงวน มูลวงค์
- ที่อยู่ 222 ม.3 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เบอร์โทรศัพท์ 086-1425150
- ประวัติแหล่งเรียนรู้ สวนมะม่วงไรแสงเดือนสิริกุล เริ่มปลูกมะม่วงในปี 2548 เป็นเวลา12 ปี พันธุ์มะม่วงที่ปลูกมะม่วงพันธุ์ น้ำดอกไม้ มหาชนก เขียวใหญ่ พันธุ์ อาร์ทูอีทูและ พันธุ์ อ้ายเหวิน และส่งไปขายยัง ประเทศ มาเลเซีย มีกลุ่มที่ให้การสนับสนุน กลุ่มบ้านฉาง กลุ่มชมรมปลูกมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทราสามารถผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้คุณภาพ
การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้
สามารถรองรับผู้เข้ารับการอบรมได้จำนวน 20 คน ไม่สามารถพักค้างคืนได้
- ค่าใช้จ่าย มีค่าใช้จ่าย ค่าวีสดุฝึกอบรม/ค่าอาหาร
- การเดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้ /แผนที่
- องค์ความรู้ หลักสูตร/กิจกรรม หลักสูตรการปลูกมะม่วงใช้หลักสูตร 100 ชั่วโมง และมีวิธีการปลูกมะม่วงคือจัดเตรียมอุปกรณ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมีฯ ถุงคาร์บอนสำหรับห่อผลมะม่วง เตรียมไว้ก่อนเริ่มกระบวนการผลิตมะม่วง โดยซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงบ้านห้วยไร่บูรพา ซึ่งทางกลุ่มได้จัดซื้อสารเคมีจากร้านค้าหรือบริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับกรม วิชาการเกษตร สารเคมีที่ใช้ต้องไม่ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มีฉลากชัดเจน รวมทั้งควบคุมไม่ให้สมาชิกในกลุ่มใช้สารเคมีที่ประเทศคู่ค้าห้ามใช้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก่อนการตัดแต่งกิ่ง 7 วัน อัตรา 500 กรัมต่อต้น เพื่อให้ต้นมะม่วงมีการสะสมอาหารก่อน(เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จ ต้นพืชสามารถดึงอาหารที่สะสมมาใช้ในการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น) และจะใส่ปุ๋ยคอก(มูลวัว) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ โดยจะใส่ปีเว้นปีเพื่อให้โครงสร้างดินดีขึ้นรากสามารถชอนไชหาอาหารได้มาก ขึ้นและต้นพืชแข็งแรง แต่หากใส่ปีเว้นปีจะทำให้มะม่วงแตกยอดมากเกินไปการออกดอกติดผลลดลงตัดแต่งกิ่งมะม่วงให้เหลือกิ่งไว้ประมาณ 60 % ของต้น (4-5 กิ่ง) แต่งทรงพุ่มแบบเปิดฝาชีหงาย เพื่อให้สารเคมีที่ฉีดพ่นไปได้ทั่วถึงทั้งทรงพุ่มในระยะการตัดแต่งกิ่งจะทำความสะอาดสวน โดยฉีดพ่นเมโทมิล อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดแมลง (มด,เพลี้ยจักจั่น และแมลงอื่นๆ) ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา คาร์เบนดาซิม อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อลดการสะสมโรค และทำให้การจัดการ การตัดแต่งกิ่งทำได้สะดวก โดยฉีดพ่นจากด้านล่าง (โคนต้น) ขึ้นไปด้านบน จำนวน 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5 วันหลังตัดแต่งกิ่งไม่เกิน 15 วัน ทำดึงยอดมะม่วง โดยการฉีดพ่นไทโอยูเรียเพื่อกระตุ้นให้มะม่วงแตกใบอ่อนพร้อมกัน ในช่วงใบอ่อนหากมีแมลงค่อมทองและด้วงเข้ากัดกินใบ จึงจะฉีดพ่นอะบาเม็กตินหรือเมโทมิล อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิต
- หน่วยงานเครือข่าย
1. อำเภอท่าตะเกียบ
2. พัฒนาอำเภอท่าตะเกียบ
3. อบต.ตำบลคลองตะเกรา
4. กศน.อำเภอท่าตะเกียบ
5. เกษตรอำเภอท่าตะเกียบ
- รางวัล/เกียรติประวัติที่เคยได้รับ
1. เกษตรกรดีเด่นจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี2559
2. ครอบครัวพัฒนาดีเด่น ปี2559
- การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในแหล่งเรียนรู้
1. จำหน่ายให้ชมรมผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา
2. จำหน่ายส่งออกไปต่างประเทศ
- รูปภาพประกอบ
 
ตอนที่ 3
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านอาชีพ การตีเหล็ก
กศน.อำเภอมีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน.... จำนวนทั้งสิ้น... ท่าน ประกอบด้วย
1. ชื่อ-สกุล นายวิเชียน ไขโพธิ์
- ที่อยู่ บ้านเลขที่49 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัด ฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 096-6481971
- ประวัติภูมิปัญญา บ้านเดิมอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา เกิดวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2512 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
- สภาพปัญหา ช่างตีเหล็กมีความรู้ทั่วไปในวิธีทำและซ่อมหลายอย่าง ตั้งแต่อาวุธและเกราะที่ซับซ้อนที่สุดไปจนถึงสิ่งเรียบง่ายอย่างตะปูหรือสายโซ่ ปัจจุบัน มีดและค้อนของหมู่บ้านเกาะลอยได้รับความสนใจประชาสัมพันธ์ไม่เพียงแต่ไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงภายในจังหวัดเท่านั้น หากยังท้องถิ่นอื่นๆอีกด้วย นาย นายวิเชียน ไขโพธิ์ที่ประกอบอาชีพตีเหล็กเผยว่า “ มีบางคนของหมู่บ้านทำการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ต่างๆ ผมเป็นตัวแทนของชาวบ้านไปยังหลายพื้นที่ภายในจังหวัดเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นงานที่จำเป็นทำให้สินค้าของหมู่บ้านได้รู้จักมากขึ้น ทั้งนี้ได้ทำให้ลูกค้ามาที่นี่อุตหนุนมากมาย” นายวิเชียน ไขโพธิ์ เล่าด้วยน้ำเสียงแห่งความ ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามชีวิตสมัยใหม่ แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง 2 อย่างคือ คุณภาพสินค้าและความภาคภูมิใจของชาวบ้านต่ออาชีพที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ .
- หลักสูตรที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้
ใช้หลักสูตร 150 ชั่วโมงในการเรียนวิธีการตีเหล็กเป็นมีดหรือเคียวด้วยมือของชนเผ่าหนุ่งต้องผ่านหลายขั้นตอนที่ซับซ้อนแต่หลักๆคือ เริ่มแรกเลือกเหล็กแหนบรถยนต์ที่ได้ใช้แล้ว จากนั้นก็นำเหล็กแหนบรถยนต์มาตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ นำไปเผาไฟที่ความร้อนสูงจนเหล็กแดงแล้วนำไปแช่น้ำ แล้วก็จะใช้ค้อนตีให้ได้รูปลักษณ์ตามที่ต้องการ ชนเผ่าหนุ่งถือว่า น้ำแช่เหล็กแดงนี้นเป็นส่วนสำคัญมากในการผลิตมีด โดยมีส่วนประกอบได้แก่ เถ้าถ่านไม้สักแช่น้ำปูนแล้วทิ้งไว้คืนหนึ่งให้ตกตะกอน เช้าวันต่อมาจะสกัดเอาน้ำส่วนใสเพื่อเป็นน้ำแช่ อาชีพตีเหล็กของชาวหมู่บ้านฟุกแซนต้องการฝีมือ ความประณีต ละเอียดอ่อนย่างมากดังนั้นผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นมีด เคียว กรรไก จอบและขวานขายดีไม่ทันผลิต

ด้านอาชีพ การทำไม้กวาดดอกหญ้า
2. ชื่อ สกุล นางหวังพังทุย
- ที่อยู่ บ้านเลขที่209 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัด ฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 086-6372098
- ประวัติภูมิปัญญา บ้านเดิมอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดวันที่ 1 พฤษภาคม 2488 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และมาอยู่จังหวัดฉะเชิงเทราปี 2519
- สภาพปัญหา ไม้กวาดดอกหญ้าของชุมชนบ้านหนองคอกจะนำดอกหญ้าเกรดเอ ดอกหญ้ามีน้ำหนักเท่ากันใส่กาวเพื่อไม่ให้ดอกหญ้าหลุดง่ายเวลากวาดบ้านนอกจากนั้นระยะเวลาการใช้งานของไม้กวาดใช้งานคงทนนอกจากนี้ไม้กวาดบ้านโง้งของกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าตำบลคลองตะเกรา มีสีสันสวยงามมีหลายขนาดให้เลือกการทำหัตถกรรมไม้กวาดจากดอกหญ้าของชุมชนบ้านหนองคอก ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของชุมชนที่สืบทอดกันมากว่า 100 ปี ซึ่งคนในชุมชนได้ประกอบอาชีพเสริมทำให้รายได้ของครัวเรือนของคนในตำบลคลองตะเกรา งามมีรายได้ทุกวันในปัจจุบันรายได้หลักของครัวเรือนใหญ่ทำอาชีพไม้กวาดเป็นรายได้หลักของครัวเรือน
- องค์ความรู้ “ดอกหญ้า”เป็นชื่อเรียกเป็นภาษาภาคกลางของผลผลิตจากพืชชนิดหนึ่งซึ่งในแต่ละภาคจะเรียกไม่เหมือนกัน เช่น ภาคใต้เรียกว่า“ดอกอ้อ”ภาคเหนือ เรียกว่า“ดอกกง”ส่วนชาวบ้านหนองคอก รู้จักกันดีในชื่อของ “ดอกแขม” เพราะดอกของต้นแขมนี้ได้สร้างรายได้ให้กับชุมชนนี้มานับ “ดอกแขม” มีอยู่ 2 ประเภท คือ“แบบแข็ง”และ “แบบอ่อน” แต่ที่นำมาทำไม้กวาดคือ ดอกแขมแบบอ่อน ต้นแขมเป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศเย็น ดินทรายปนกรวดบริเวณเชิงเขา ไม้กวาด เป็นอุปกรณ์ที่ยังจำเป็นต้องใช้ภายในครอบครัว แม้ปัจจุบัน บางบ้านได้นำเครื่องดูดฝุ่นเข้ามาใช้บ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบ้านและสถานที่ต่าง ๆ อีกจำนวนไม่น้อย ที่ต้องการใช้ไม้กวาด ดังนั้น การทำไม้กวาดเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการเสริมรายได้อีกทางหนึ่งให้กับครอบครัวได้
- หลักสูตรที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ใช้หลักหลักสูตร 20 ชั่งโมงในการอบรม วิธีการทำ
นำดอกหญ้ามาตากแดดให้แห้งนำดอกหญ้ามาตีหรือฟาดกับพื้น เพื่อให้ดอกหญ้าดอกเล็ก ๆหลุดออกให้ เหลือแต่ก้านเล็ก ๆ แกะก้านดอกหญ้าออกจากต้นนำมามัดรวมกันประมาณ 1 กำมือใช้เชือกฟางหรือเชือกในล่อนสอยเข้ากับเข็มเย็บกระสอบแล้วแทงเข้าตรง กลางมัดดอกหญ้า แล้วถักไปถักมาประมาณ 3-4 ชั้นพร้อมทั้งจัดมัดดอกหญ้าให้แบนราบ ใช้มีดตัดโคนรัดดอกหญ้าที่ถักแล้วให้เสมอเป็นระเบียบสวยงามใช้ด้ามไม้ไผ่รวกเสียบตรงกลางหรืออาจจะใช้ต้นดอกหญ้า8-10 ต้น มัดรวมกันแทนไม้ไผ่รวกก็ได้ แล้วตอกตะปูขนาด 1 นิ้ว 2 ตัว เพื่อให้มัดดอกหญ้ากับด้ามให้แน่นใช้น้ำมันยางหรือชันผสมน้ำมันก๊าดทาโดยใช้แปรงจุ่มและทาบริเวณที่ตัว

ด้านอาชีพ การทำมะม่วงฤดู
3. ชื่อ สกุล นายสุชิน แสงเดือนสิริกุล
- ที่อยู่ บ้านเลขที่222 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 086-1425150
- ประวัติภูมิปัญญา บ้านเดิมอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เกิดวันที่ 20 สิงหาคม 2505 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
- สภาพปัญหา เกษตรกรจะเก็บผลผลิตเฉพาะที่ได้คุณภาพตรงตามพันธุ์และความต้องการของตลาด เท่านั้น เช่นมะม่วงน้ำดอกไม้ต้องสุกแก่ 80-85 เปอร์เซ็นต์ เมื่อบ่มจำหน่ายแล้วจะได้รสหวาน กลิ่นหอม หากเก็บมะม่วงที่อ่อนเกินไปจำหน่ายให้พ่อค้า จะทำให้ได้มะม่วงรสเปรี้ยว คุณภาพไม่ดี รวมทั้งต้องงดการฉีดพ่นสารเคมีในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 1 เดือน ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรคำนึงถึงความพึงพอใจและความปลอดภัยของผู้บริโภค ไม่ต้องการเอารัดเอาเปรียบลูกค้า และทำให้เสียชื่อเสียงของกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงทั้งหมด เกษตรกรมีการวางแผน การผลิตและลดความเสี่ยงโดยปลูกมะม่วง 3 แปลง พื้นที่ 25 ไร่ 3 งาน โดยปลูกมะม่วง 3 พันธุ์ เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านผลผลิตและการตลาด ซึ่งได้วางแผนการผลิต เฉพาะพื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 20 ไร่ 3 งาน
- องค์ความรู้ วิธีบังคับให้มะม่วงออกดอก อันดับแรกต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือหลังจากเก็บผลผลิตแล้วให้ทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นก็ปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุดก่อน ให้สังเกตต้นมะม่วง เพราะระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารเร่งการออกดอกมะม่วง คือช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวงตรวจดูว่าดินมีความชื้นเพียงพอหรือยัง แล้วจึงทำการราดารเร่งดอกมะม่วงดังกล่าว และเมื่อราดสารลงรอบโคนต้นมะม่วงแล้ว ให้รดน้ำตามทันที เพื่อให้รากมะม่วงดูดสารเร่งดอกได้อย่างเต็มที่ หลังจากราดสารเร่งดอกมะม่วงประมาณ 2 เดือน มะม่วงจึงจะออกดอก (สำหรับมะม่วงสายพันธุ์ที่ออกดอกไม่ยากนัก) ส่วนมะม่วงสายพันธุ์ที่ไม่ออกดอกภายใน 2 เดือน อาจใช้สารกระตุ้นการแตกตาช่วย เช่น ใช้โปรแตสเซี่ยมไนเตรท 2.5 % หรือไทโอยูเรีย 0.5 % ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้การออกดอกของมะม่วงเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้นครับ
- หลักสูตรที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้
- รางวัล/เกียรติประวัติที่เคยได้รับ
1. เกษตรกรดีเด่นจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี2559
2. ครอบครัวพัฒนาดีเด่น ปี2559
- รูปภาพประกอบ

ด้านอาชีพ การทอเสื่อกก
4. สกุล นางพุทรทา บุตรนิล
- ที่อยู่ บ้านเลขที่ 175 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัด ฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 096-6481971
- ประวัติภูมิปัญญา บ้านเดิมอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดวันที่ - กันยายน 2491 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
- สภาพปัญหา การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ เสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการสืบสานภูมิปัญญาทางด้านการทอเสื่อกกนี้มายาวนาน จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อื่นเข้ามาทดแทนการใช้เสื่อกกมากมายให้เลือก นับตั้งแต่เสื่อน้ำมัน พรม กระเบื้องปูพื้น และอื่นๆ ทำให้กระแสความนิยมในการใช้เสื่อกกลดลง และคนรุ่นใหม่ก็สนใจในภูมิรู้ด้านนี้น้อย การศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกของชุมชนนี้ ก็เพื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น และปัญหาที่เสี่ยงต่อการสูญสิ้นของภูมิปัญญานี้ ว่ามีมากหรือน้อย และด้วยปัจจัยหรือองค์ประกอบใด เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์หรือแก้ไข สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- องค์ความรู้ การทำเสื่อกก นำกกหรือไหลมากรีดออกเป็นเส้นไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์ เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ โดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อม สีน้ำตาลและสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืม นำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ เมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกัน เป็นลายต่าง ๆ ลายที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยมคือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมดา ลายกระจับ 7. จากนั้นก็นำเสื่อกกที่ทอแล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น หมอน อาสนะ หนอนทอฟฟี่(หมอนข้าง) เสื่อพับ ที่รองแก้ว หมอนสามเหลี่ยม ฯลฯ เลือกขนาดของฟืมให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำฟืมไปตั้งในโฮงที่จะทอแล้วตั้งให้ได้ระดับ ระยะห่างจากเหล็กตีนเสื่อประมาณ 2 ฟุต นำเชือกไนลอนมาขึงจามริมฟืมซี่แรก จะเริ่มจากด้านซ้าย หรือขวาก่อนก็ได้แล้วแต่ถนัด การขึงเชือกใช้คน 2 คน คนหนึ่งนั่งอยู่ที่หัวเสื่อคอยมัดเชือกที่ขึงให้ตึง และแน่น อีกคนนั่งอยู่ตีนเสื่อคอยสอดเชือกเข้ากับเหล็กตีนเสื่อ ใช้เชือกสอดเข้าไปในรูฟืมที่เจาะไว้ เป็นสองแถว แล้วดึงปลายเชือกไปเกาะติดกับตะปูที่เราตอกงอไว้ติดกับไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้วยึดกันให้แน่น เชือกดึงให้ยาวตามความยาวของเสื่อ พรมนำใส่กกที่จะทอ ในการทอเสื่อจะใช้คน 2 คน คนแรกเป็นคนทอ อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยสอดเส้นกก กกที่นำมาทอจะใส่ถุงพลาสติกเพื่อให้กกนิ่มและทอได้แน่น การทอคนทอจะต้องคว่ำฟืมเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับสอดกก คนสอดจะสอดเส้นกกโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด สอดไปตามช่องระหว่างเชือกที่แยกออกจากกันขณะที่คว่ำฟืม พอสอดไปสุดริมเชือกอีกข้างดึงไม้สอดกลับคืนคงเหลือแต่เส้นกก คนทอก็กระทบฟืมเข้าหาตัวแล้วคนทอก็หงายฟืม คนสอดก็ใช้ส่วนปลายของเส้นกกแนบกับไม้สอด สอดกกเข้าไปอีก คนทอก็กระตุกฟืมเข้าหาตัว แล้วไพริมเสื่อทางด้านซ้ายมือ การไพริมเสื่อ คือ การใช้ปลายกกม้วนงอลงแล้วสอดพับเชือกขัดไว้ให้แน่น ต่อไปคว่ำฟืม ไพริมเสื่อทางด้านขวามือ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ ในขณะทอหากต้องการให้การทอง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้เทียนไขถูกับเส้นเอ็นที่ขึงไว้ให้ทั่ว เพื่อที่จะให้เอ็นลื่นไม่ฝืด ตัดริมเสื่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อย เสื่อจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ใช้มีดตัดเชือกเอ็นทางตีนเสื่อเพื่อให้เสื่อออกจากโฮง มัดเอ็นที่ปลายเสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันเสื่อรุ่ย นำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วผึ่งแดดไว้จนแห้งสนิท จึงพับเก็บไว้จำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป
การทอเสื่อที่สวยงามนั่นต้องใช้คามปราณีตและความอดทนสูงเพราะการทอเสื่อต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงจะได้เสื่อที่สวยงามมาก และอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้สีในการใส่ลวยลายให้เกิดสีสรรค์สวยงามตามใจผู้ทำ
- หลักสูตรที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ หลักสูตร 40 ชั่วโมง วัสดุอุปกรณ์ในการทำ
1.กรรไกร
2. กกหรือไหล
3. เชือกไนลอนหรือเชือกเอ็น
4. ฟืมทอเสื่อ 1 เมตร5. โฮมทอเสื่อ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร
6. ไม้สอดกก
7. สียอมกก
- รูปภาพประกอบ

ด้านศิลปวัฒนธรรม การทำลวดลายบั้งไฟ
5. ชื่อ สกุล นายกวี มูลวงษ์
- ที่อยู่ บ้านเลขที่209/1 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 086-1501261
- ประวัติภูมิปัญญา บ้านเดิมอยู่ที่จังหวัด เกิดวันที่ 25 มิถุนายน 2501จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
- สภาพปัญหา ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลมเป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอนนอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์
- องค์ความรู้ เมื่อเอารูเสร็จแล้วก็ใส่หาง ใส่โหวดรอบตัวบั้งไฟ ตัดกระดาษปิดเป็นสีเป็นรูปต่างๆ ประดับให้สวยงาม การประดับบั้งไฟเขาเรียกว่า “เอ้บั้งไฟ” การประดับมีการประกวดความสวยงามด้วยถ้าบั้งไฟเล็กก็แบกหางไป ถ้าบั้งไฟใหญ่ใส่ล้อเกวียนหรือเกวียนที่ประดับไว้สวยงาม ปัจจุบันใช้รถแทนเกวียนขบวนประกวดบั้งไฟซึ่งถูกตกแต่งอย่างสวยงาม ซึ่งถ้าพูดถึงงานประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ ก็ต้องนึกถึงจังหวัดยโสธร เพราะเป็นจังหวัดที่มีการจัดงานบุญบั้งไฟสืบทอดกันมาช้านาน และมีการจุดบั้งไฟแข่งขันกันเป็นงานใหญ่ ตั้งแต่ยังเป็นอำเภอที่ขึ้นอยู่กับจังหวัดอุบลราชธานี จนในปี พ.ศ. 2515 ยโสธรแยกออกมาตั้งเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย คนเมืองยศก็จึงยิ่งจัดให้ยิ่งใหญ่มโหฬารขึ้น จนถือเป็นงานประเพณีระดับชาติ และมีการกำหนดจัดเป็นประจำในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปีซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เพราะกว่าร้อยละ 85 ของประชากรในจังหวัดเป็นเกษตรกรที่ต้องอาศัยน้ำในการทำการเกษตร
การเซิ้งบั้งไฟความพิเศษของงานบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ของชาวยโสธรนี้
หลักสูตรที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ หลักสูตรการทำลวดลายบั้งไฟ หลักสูตร 40 ชั่วโมง รางวัล/เกียรติประวัติที่เคยได้รับ
- รูปภาพประกอบ

ตอนที่ 4
ข้อมูลติดต่อ
1. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ที่อยู่ 181 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160
เบอร์โทรศัพท์038-508121 เบอร์โทรสาร038-508121
E-mail : thatakiab_0713@ hotmail.com
เว็บไซต์ : กศน.อำเภอท่าตะเกียบ
2. ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำตำบลคลองตะเกรา
กศน.ตำบลคลองตะเกรา
ผู้ประสานงานนายสงวน มูลวงค์
ที่อยู่58 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 089-0191274 เบอร์โทรสาร -
E-mail :nw004064@gmail.com
เว็บไซต์ : กศน.ตำบลคลองตะเกรา
3. ชื่อหน่วยงานเครือข่ายในตำบลคลองตะเกรา
ผู้ประสานงาน นายประเนต หงค์ษา
ที่อยู่ หมู่ที่ 12 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ
เบอร์โทรศัพท์ 0-3850-8152-5 เบอร์โทรสาร 0-3850-8155 ต่อ 24
E-mail : http://klongtakrao.go.th
เว็บไซต์ : อบต.คลองตะเกรา
ผู้จัดทำเอกสาร

คณะทำงานที่ปรึกษา
นายวสันต์ รัชชวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา
นางสาวพัชยา ทับทิม ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอท่าตะเกียบ
นายอนันท์ เฟื่องทอง ศึกษานิเทศก์
นางวัชรินทร์ ศรีณิบูลย์ ศึกษานิเทศก์
ดร.จรัสศรี หัวใจ ศึกษานิเทศก์
นางสาวอัจฉรา ธัญยาธีรพงษ์ นักวิชาการศึกษา

คณะทำงานฝ่ายข้อมูล
นายสงวน มูลวงค์. ครู กศน.ตำบลคลองตะเกรา

ผู้จัดพิมพ์
นายสงวน มูลวงค์. ครู กศน.ตำบลคลองตะเกรา

เรียบเรียง/จัดทำรูปเล่ม
นายสงวน มูลวงค์. ครู กศน.ตำบลคลองตะเกรา

บรรณาธิการ
นางสาวพัชยา ทับทิม ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอท่าตะเกียบ
นายสงวน มูลวงค์. ครู กศน.ตำบลคลองตะเกรา
JJJJJJJJ
2)ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่
|
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความสามารถและประสบการณ์
|
ที่อยู่
|
1
|
นายประกาย เพชรนอก
|
ผักปลอดสารพิษ
|
เลขที่ 370 บ้านหนองขาหยั่ง
หมู่ 5 ตำบลคลองตะเกรา
|
2
|
นายพุธ สุขสวัสดิ์
|
นกสาริกาไม้มงคล
|
เลขที่ 204/3 บ้านซอย 5 เทพเจริญ หมู่ 17 ตำบลคลองตะเกรา
|
3
|
นายประสงค์ เทียมจันทร์
|
ขนุนสด
|
เลขที่ 8/1 บ้านห้วยโสม หมู่ 11
ตำบลคลองตะเกรา
|
3)บ้านหนังสือชุมชน
ลำดับที่
|
ที่ตั้ง
|
ชื่อเจ้าของบ้าน
|
1
|
.บ้านทุ่งสาย ม.12 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
|
นายสมหมาย ชินนะหง
|
2
|
.บ้านเกาะกระทิง ม.13 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
|
นางลำไพ สะอาดแพน
|
3
|
บ้านทรัพย์เจริญ ม.24ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
|
นายชัยวัฒน์ นพรัตน์
|
4)แหล่งเรียนรู้อื่น
ที่
|
แหล่งเรียนรู้อื่น
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่อยู่
|
1
|
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
|
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
ม.25 ต.คลองตะเกรา
|
2
|
วัดเขาถ้ำแรต
|
แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
|
ม.9 ต.คลองตะเกรา
|
3
|
การทำพรมเช็ดเท้า
|
บุคคลและองค์กรในชุมชน
|
ม.9ตำบลคลองตะเกรา
|
4
|
รากไม้ประดิษฐ์
|
ประเภทศิลปะ
|
ม.11ตำบลคลองตะเกรา
|
5
|
กลุ่มยางอำเภอท่าตะเกียบ
|
บุคคลและองค์กรในชุมชน
|
ม.16 ตำบลคลองตะเกรา
|
6
|
วัฒนธรรมพื้นบ้านภูไท
|
ศิลปะ วัฒนธรรมและจารีตประเพณี
|
ม.13 ต.คลองตะเกรา
|
7
|
ดอกไม้ประดิฐจากธรรมชาติ
|
บุคคลและองค์กรในชุมชน
|
ม.12 ต.คลองตะเกรา
|
8
|
สวนสมุนไพร รพ.สต.บ้านร่มโพธิ์ทอง
|
บุคคลและองค์กรในชุมชน
|
ม.7 ต.คลองตะเกรา
|
9
|
ป่าชุมชนบ้านร่มโพธิ์ทอง
|
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
ม.7 ต.คลองตะเกรา
|
10
|
ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทรา
|
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
ม.22 ต.คลองตะเกรา
|
11
|
สวนป่าคลองตะเกรา
|
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
ม.8 ต.คลองตะเกรา
|
12
|
ไร่แสงเดือนสิริกุล
|
เรียนรู้ด้านการเกษตร
|
หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
|
เข้าชม : 1801 |