แหล่งเรียนรู้ “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลปากน้ำ”
กศน.ตำบลปากน้ำ มีแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวนทั้งสิ้น ๑ แห่ง ด้านการเกษตร “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลปากน้ำ”
เจ้าของแหล่งเรียนรู้
นายบุญยืน คงรัตน์ บ้านเลขที่ ๑๖/๒ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เบอร์โทร ๐๘๗-๐๑๔๐๘๐๑ สมรสกับนางอำพัน กล้องเจริญ จบการศึกษา ม.๓ จากโรงเรียนวัดหัวไทร มีบุตรชาย ๑ คน ปัจจุบันนายบุญยืน คงรัตน์ ประกอบอาชีพเกษตรกร
ครูกศน.ตำบลที่รับผิดชอบ
นางสาวชุติมา จันทะ ตำแหน่ง ครูกศน.ตำบลปากน้ำ สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า เบอร์โรศัพท์ ๐๘๙-๖๐๘๒๙๗๗
ประวัติแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประจำตำบลปากน้ำ ภายใต้การดูแลของนายบุญยืน คงรัตน์ ซึ่งเป็นเกษตรกรเป็นผู้ที่สนใจ มีความใฝ่เรียน ใฝ่รู้ในการพัฒนาการทำการเกษตรศึกษาค้นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่สม่ำเสมอ จนได้รับคัดเลือกเป็นหมอดินอาสาประจำตำบลปากน้ำ ทำให้ นายบุญยืน คงรัตน์ ได้เรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสาน ใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น ในการทำการเกษตร เนื่องจากนายบุญยืน คงรัตน์ มีแนวคิดว่าถ้าเรารักชีวิตของตนเอง ผู้บริโภคก็คงต้องรักชีวิตของตนเอง เหมือนกัน นายบุญยืน คงรัตน์ จึงหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพราะเป็นการประกอบอาชีพ ที่ทำให้ตนเองปลอดภัยจากสารเคมี และผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าของตน และ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ประเทศไทยเกิดวิกฤตจากฟองสบู่แตกทำให้ผู้คนได้รับความเดือดร้อน มีบริษัท ห้างร้านปิดกิจการ คนในประเทศตกงานกันมากมาย ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ได้ทรงมีพระราชดำรัชแก่ชาวไทย เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประชาชนชาวไทยอีกครั้ง จึงทำให้หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนนำนโยบายดังกล่าวมาเผยแพร่ อบรมให้ความรู้แก่ประชาชน
นายบุญยืน คงรัตน์ ได้รับคัดเลือกจาก กศน.ตำบลปากน้ำให้เข้าร่วมอบรมกับสำนักงานกศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน) จัดโครงการอบรมแกนนำ เรื่องการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งก็ทำให้ นายบุญยืน คงรัตน์ นำความรู้จาการเข้ารับการอบรมมาใช้พัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพเกษตรอย่างจริงจัง และมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยสมัครเข้ารับการอบรมกับสำนักงานเกษตรตำบลปากน้ำ ซึ่งนายบุญยืน คงรัตน์ซึ่งมีวิถีชีวิตที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำความรู้ที่ได้รับมาทำเป็นแบบอย่างให้กับคนในหมู่บ้าน แบ่งปันความรู้และผักสวนครัวให้กับเพื่อนบ้านและคนในหมู่บ้าน เป็นผู้นำชักชวนเพื่อนบ้าน ที่ทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยให้เรียนรู้การทำน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์สด การทำฮอร์มโมนไข่ การทำเชื้อราบิวเวอร์เรีย การเพาะเชื้อไตโคดราม่า เพื่อใช้ในการเกษตร โดยไม่ต้องหันไปพึ่งพาปุ๋ยเคมี และสารเคมีฆ่าแมลงต่าง ๆ ปัจจุบันมีผู้สนใจในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ลดการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยของตัวเกษตร และผู้บริโภค โดยการรวมกลุ่มกันภายในหมู่ ๑๒ บ้านหนองชุมพร ทำให้บ้านนายบุญยืน คงรัตน์ เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำเกษตรปลอดสารเคมี และเป็นแปลงสาธิตการทำนาปลอดสารเคมี ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำตำบลปากน้ำ เป็นหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาลประจำตำบลปากน้ำ ของกศน.ตำบลปากน้ำ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้รับความสนใจจากประชาชนในหมู่บ้านอื่นและตำบล ต่างในอำเภอบางคล้าเข้มาศึกษาดูงานเป็นระยะ ๆ ซึ่งในปัจจุบัน นายบุญยืน คงรัตน์ มีที่ดินทำการเกษตร จำนวน ๓๒ ไร่ โดยแบ่งสัดส่วนพื้นที่ดังนี้ ส่วนที่ ๑ ทำนา จำนวน ๑๖ ไร่ ส่วนที่ ๒ ทำบ่อเลี้ยงกุ้ง จำนวน ๑๒ ไร่ และส่วนที่ ๓ ทำสวน ๔ ไร่ ซึ่งการประกอบอาชีพของครอบครัว ทำให้นายบุญยืน คงรัตน์ สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ไม่มีหนี้สิน และสามารถซื้อที่ดินเพิ่มได้ สามารถแบ่งปันผลผลิตให้กับคนในชุมชน สามารถรวมตัวกันทำเกษตรแบบปลอดภัยโรคภัย ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
สภาพปัญหา
จากปัญหาด้านสุขภาพของตนเอง และครอบครัว ทำให้นายบุญยืน คงรัตน์ หันมาสนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารเคมี ใช้สาเคมีให้น้อยที่สุด จึงให้ความสนใจศึกษาเรียนรู้การทำเกษตรแบบปลอดสารเคมี กับทางหน่วยงานภาครัฐ ที่เข้ามาส่งเสริม แม้ว่าจะเป็นสวนกระแสของคนในชุมชนที่คิดว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่การทำการเกษตรโดยไม่พึงพาสาเคมี นายบุญยืน คงรัตน์จึงหาทางพิสูจน์ให้คนใกล้ตัวและคนในชุมชนเห็นว่าเป็นไปได้ ในการทำการเกษตรแบบปลอดสารเคมี แม้ช่วงแรกจะลำบากเนื่องจากต้องปรับการทำการเกษตร โดยลดการใช้สารเคมี หันมาใช้วิธีธรรมชาติในการทำการเกษตร นายบุญยืน คงรัตน์ บอกว่าแม้จะยากลำบากในตอนแรกแต่ก็พยายามสู้ไม่ท้อจนในปัจจุบันประสบผลสำเร็จ ทำให้นายบุญยืน คงรัตน์ ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง และลดการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการใช้สารเคมี ในปัจจุบันมีผู้คนมาเรียนรู้องค์ความรู้ที่ตนมีไปใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรของตน และขยายไปในหมู่บ้านใกล้เคียง ตำบลใกล้เคียง
การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้
สามารถรองรับผู้เข้าศึกษาดูงานได้ จำนวน ๓๐ คน ไม่สามารถพักค้างได้ และไม่มีค่าใช้จ่าย

นักศึกษา ประชาชน เข้าศึกษาดูงาน
การเดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้
เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
องค์ความรู้
๑. การปลูกผัก แบบไม่ใช้สารเคมี
๒. การทำนาข้าวปลอดสารพิษ
๓. การทำฮอร์โมนไข่
๔. การทำเชื้อราบิวเวอร์เรีย
๕. การเพาะเชื้อไตโคดราม่า เพื่อกำจัดศัตรูพืช
๖. การทำน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์สด

การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย

การทำฮอรโมนไข่

การทำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
จุดเด่น ในชุมชนมีความพร้อมด้านบุคลากรมีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนาข้าวโดยการลดการใช้สารเคมีทำการเกษตรแบบผสมผสาน และในพื้นที่ของกลุ่มนาข้าวตำบลปากน้ำมีแปลงทดลองนาข้าวปลอดสารพิษสามารถเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรในชุมชน ให้เห็นถึงผลสำเร็จของการทำนาข้าวโดยการลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต ได้ข้าวที่มีมาตรฐาน และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในตำบลปากน้ำและตำบลอื่น ๆ ในอำเภอบางคล้า และเป็นพื้นฐานในการสร้างอาชีพเกษตรที่ประกอบอาชีพการทำนาข้าวแบบปลอดสารพิษที่มีคุณภาพดีในชุมชนอีกด้วย และยังส่งผลให้เกษตรกรลดความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีและยังส่งผลไปยังผู้บริโภคให้ได้รับประทานอาหารที่ไม่เจือปนสารเคมี
จุดอ่อน เกษตรกรบางคนยังไม่ค่อยยอมรับวิธีการทำนาข้าวแบบไม่ใช้สารเคมี กลัวผลผลิตตกต่ำอยู่มากดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการอบรมให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และต้องมีการอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย เพื่อจะได้ให้เกษตรกรลดต้นทุนและผู้บริโภคเสี่ยงน้อยลงจากการบริโภคสารเคมีที่ใช้ในนาข้าว
หน่วยงานเครือข่าย
๑. กศน.ตำบลปากน้ำ
๒. สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า
๓. เทศบาลตำบลปากน้ำ
รางวัล/เกียรติประวัติที่เคยได้รับ
รางวัลเกษตรดีเด่น สาขาทำนา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อมูลติดต่อ
๑. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ที่อยู่ ๒๘๓ ต.บางคล้า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ๒๔๑๑๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๓๘-๕๔๒๗๖๓ เบอร์โทรสาร -
E-mail : nfe_bangkla@hotmail.com
เว็บไซต์ : http://ccs.nfe.go.th/bangkha/
๒. ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำตำบลปากน้ำ
กศน.ตำบปากน้ำ
ผู้ประสานงาน นางสาวชุติมา จันทะ
ที่อยู่ อาคารเทศบาลหลังเก่า เทศบาลตำบลปากน้ำ เลขที่ ๕๒ หมู่ ๗ ต.ปากน้ำ อ.บางคล้า
จ.ฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙-๖๐๘๒๙๗๗ โทรสาร –
E-mail : juydee@gmail.com
เว็บไซต์ : http://ccs.nfe.go.th/bangkha/bangkajed/
๓. ชื่อหน่วยงานเครือข่ายในตำบล
ผู้ประสานงาน นายบุญยืน คงรัตน์
ที่อยู่ ๑๖/๒ หมู่ ๑๒ ต.ปากน้ำ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๗-๐๑๔๐๘๐๑
E-mail –
เว็บไซต์ -
เข้าชม : 1204
|